ได้อ่านบทความนึงของ SET “ห้องเรียนนักลงทุน” แล้วรู้สึกว่ามีประโยชน์ เลยอยากเอามาแชร์ พร้อมตัวอย่างประกอบ
2 พอร์ตนี้ เริ่มลงทุนในเวลาไล่เลี่ยกัน
พอร์ตแรกเริ่มด้วยเงินต้นก้อนใหญ่ แต่ขาดความสม่ำเสมอในการออม
สิ้นปี 2022 มีกำไร 811,345.71 บาท คิดเป็น +28.00%
พอร์ตที่สอง เริ่มต้นด้วยเงินที่น้อยกว่ามาก แต่ออมเพิ่มอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน
สิ้นปี 2022 มีกำไร 793,464.07 บาท คิดเป็น +37.44%
แม้พอร์ตแรกจะได้กำไรเป็นตัวเงินมากกว่า แต่พอไปดูผลตอบแทนคิดเป็น percent แล้ว กลับได้น้อยกว่าถึง 9.44% ที่เป็นแบบนี้เพราะพอร์ตสองมีความสม่ำเสมอในการออมกว่า
======
ในบทความของ SET “ห้องเรียนนักลงทุน” มีพูดถึงการลงทุน 2 แบบ เปรียบเทียบกัน แบบแรกเป็นการลงทุนแบบลงเงินก้อนเดียว (lump sum) แล้วถือไว้ 10 ปี ในแต่ละช่วงเวลา กับ แบบที่สองเป็นการลงทุนแบบทะยอยออม (Dollar Cost Average – DCA) ตลอด 10 ปี ในแต่ละช่วงเวลา
จากตารางจะเห็นว่า การลงทุนแบบ lump sum มีความผันผวนของผลตอบแทนในแต่ละช่วงเวลาสูงมาก คือ ตั้งแต่ -3.24% ถึง +18.63%
ในขณะที่การลงทุนแบบ DCA ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ แทบจะทุกช่วงเวลา คือ ตั้งแต่ +3.39% ถึง +17.12%
จะเห็นได้ว่าการลงทุนแบบ DCA ที่มีความสม่ำเสมอ ในระยะยาวจะช่วยทำให้ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่าการลงทุนแบบ lump sum ในแทบจะทุกช่วงเวลา และไม่มีช่วงไหนที่ขาดทุนเลย
ใครสนใจอ่านบทความชิ้นนี้แบบละเอียด หาอ่านได้ที่:
SET ห้องเรียนนักลงทุน เรื่อง “หุ้นไทยให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 8 – 12% จริงหรือไม่”
https://www2.set.or.th/set/education/knowledgedetail.do?contentId=6416&type=article
#edyonginvesting