ผลตอบแทนกองทุน Provident Fund

หลายวันก่อนเพื่อนโทรมาขอให้ช่วยเลือก Provident Funds ให้ อยากให้เลือกซัก 3-4 กอง เผื่อเป็นทางเลือกให้กับพนักงานในบริษัท เพราะพนักงานบางคนก็รับความเสี่ยงได้มาก บางคนก็รับความเสี่ยงได้น้อย จึงต้องมีหลายๆ แบบไว้ โดยเฉพาะกองที่ไม่เสี่ยงเลย ต้องมีอย่างน้อย 1 กอง

พอได้ brief คร่าวๆ ก็เปรียบเทียบรายละเอียดแต่ละกอง แล้วคัดออกมา 4 กอง ดังนี้

กองที่ 1 – เลือกเป็นเงินฝาก และตราสารหนี้ 100%

กองนี้ความเสี่ยงต่ำที่สุด ถ้าดูจากตารางผลตอบแทนย้อนหลัง 11 ปี ไม่มีปีไหนเลยที่ให้ผลตอบแทนเป็นลบ เรียกได้ว่าถ้าเลือกกองนี้ ยังไงก็ไม่ขาดทุน

กองที่ 2 – เลือกเป็นตราสารทุน 10% เงินฝากและตราสารหนี้ 85% และสินทรัพย์ทางเลือก 5%

กองนี้เริ่มเพิ่มความเสี่ยงขึ้นมาหน่อย โดยมีการลงทุนในตราสารทุน (หุ้น) ประมาณ 10% ของเงินออม ที่เหลือเป็นเงินฝากและตราสารหนี้

ถ้าดูจากตารางผลตอบแทนย้อนหลัง 11 ปี มีขาดทุนเพียง 1 ปี คือในปี 2561 และเป็นการขาดทุนเพียง -0.43% ส่วนที่เหลืออีก 10 ปี ผลตอบแทนเป็นบวกทั้งหมด

กองที่ 3 – เลือกเป็นตราสารทุน 25% เงินฝากและตราสารหนี้ 70% และสินทรัพย์ทางเลือก 5%

กองนี้เพิ่มความเสี่ยงขึ้นมาอีกหน่อบ โดยมีการลงทุนในตราสารทุน (หุ้น) ประมาณ 25% แบ่งเป็นหุ้นในประเทศ 15% และหุ้นต่างประเทศ 10% ที่เหลือเป็นเงินฝากและตราสารหนี้

ถ้าดูจากตารางผลตอบแทนย้อนหลัง 11 ปี มีขาดทุน 2 ปี คือในปี 2561 และ 2565 เป็นการขาดทุน -2.26% และ -0.94% ตามลำดับ ส่วนที่เหลืออีก 9 ปี ผลตอบแทนเป็นบวกทั้งหมด

กองที่ 4 – เลือกเป็นตราสารทุน 80% เงินฝากและตราสารหนี้ 20%

กองนี้เป็นกองที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด โดยมีการลงทุนในตราสารทุน (หุ้น) 80% เป็นเงินฝากและตราสารหนี้ 20%

ถ้าดูจากตารางผลตอบแทนย้อนหลัง 11 ปี มีขาดทุน 4 ปี และใน 4 ปีที่ขาดทุน มีขาดทุนหนัก 2 ปี คือในปี 2558 และปี 2563 ที่ขาดทุน -17.13% และ -13.17% ตามลำดับ

ถ้าดูแค่ตัวเลขผลตอบแทนในแต่ละปี ของแต่ละกองทุนแยกกัน อาจจะทำให้ตัดสินใจได้ยาก ว่าควรจะเลือก Provident Fund กองไหนดี แต่หากนำทุกกอง มาทำตารางผลตอบแทนเปรียบเทียบกัน จะเห็นภาพชัดเจนขึ้น ดังนี้

กองที่ 1

3.20%100.00103.20
2.84%103.20106.13
2.64%106.13108.93
2.28%108.93111.42
1.21%111.42112.76
1.50%112.76114.46
0.98%114.46115.58
1.73%115.58117.58
1.18%117.58118.96
0.18%118.96119.18
0.22%119.18119.44

กองที่ 2

5.67%100.00105.67
1.97%105.67107.75
4.59%107.75112.70
1.12%112.70113.96
3.65%113.96118.12
2.76%118.12121.38
-0.43%121.38120.86
1.54%120.86122.72
0.52%122.72123.36
1.81%123.36125.59
0.26%125.59125.92

กองที่ 3

8.67%100.00108.67
1.13%108.67109.90
6.51%109.90117.05
0.57%117.05117.72
4.75%117.72123.31
4.04%123.31128.29
-2.26%128.29125.39
2.26%125.39128.23
0.50%128.23128.87
3.79%128.87133.75
-0.94%133.75132.50

กองที่ 4

35.26%100.00135.26
-3.19%135.26130.95
15.74%130.95151.56
-17.13%151.56125.59
22.42%125.59153.75
20.66%153.75185.52
-5.69%185.52174.96
4.56%174.96182.94
-13.17%182.94158.85
10.96%158.85176.26
4.97%176.26185.02

จากตาราง ผลตอบแทนเปรียบเทียบเงินลงทุน 100 บาท ใน Provident Fund แต่ละกอง หลังผ่านไป 11 ปี

  • กองที่ 1 ให้ผลตอบแทน 119.44 บาท คิดเป็นผลตอบแทนทบต้น 1.6% ต่อปี
  • กองที่ 2 ให้ผลตอบแทน 125.92 บาท คิดเป็นผลตอบแทนทบต้น 2.1% ต่อปี
  • กองที่ 3 ให้ผลตอบแทน 132.50 บาท คิดเป็นผลตอบแทนทบต้น 2.6% ต่อปี
  • กองที่ 4 ให้ผลตอบแทน 185.02 บาท คิดเป็นผลตอบแทนทบต้น 5.8% ต่อปี

แสดงให้เห็นว่าอัตราผลตอบแทน แปรผันโดยตรงกับความเสี่ยง นั่นคือ ยิ่งความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนยิ่งสูงตามไปด้วย

การลงทุนที่มีความเสี่ยงอาจจะฟังดูเป็นเรื่องน่ากลัว ไม่มีใครอยากเห็นเงินออมของตัวเองลดลง แต่ถ้าเราบริหารความเสี่ยงได้ ด้วยลงทุนให้นานพอ เพื่อเฉลี่ยผลตอบแทนในแต่ละปี ผลตอบแทนสุดท้ายของกองทุนที่ความเสี่ยงสูง จะชนะกองทุนที่ความเสี่ยงต่ำกว่าในระยะยาวเสมอ

เพิ่มเติมเนื้อหา:

เนื่องจากมีคนถามเข้ามาเยอะว่าในระยะยาว แต่ละกองให้ผลตอบแทนที่แท้จริงเท่าไหร่ เลยลองทำ Simulation โดยมีสมมุติฐานดังนี้

เริ่มต้นทำงานอายุ 22 ปี เงินเดือนเริ่มต้น 15,000 บาท/เดือน และทำงานจนอายุ 60 ปี เงินเดือนสุดท้ายจบที่ 40,000 บาท/เดือน หักเงินไปออมใน Provident Fund 15% และนายจ้างสมทบให้อีก 15% ทุกเดือน

  • กองที่ 1 จะได้ผลลัพธ์เงินออมสุดท้าย 4,683,691 บาท
  • กองที่ 2 จะได้ผลลัพธ์เงินออมสุดท้าย 5,117,588 บาท
  • กองที่ 3 จะได้ผลลัพธ์เงินออมสุดท้าย 5,606,185 บาท
  • กองที่ 4 จะได้ผลลัพธ์เงินออมสุดท้าย 10,651,598 บาท

Runner. Investor. Father.